Yuru Kyara Grand Prix

งานประกวดมาสคอต (mascot) ประจำปีของญี่ปุ่น เป็นงานประกวดการ์ตูนสัญลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวและสร้างสรรค์สินค้าผ่านตัวละครที่น่ารัก ที่กลายมาเป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำจังหวัด  เมือง เขต หรือสถานที่ต่างๆ ในญี่ปุ่น ซึ่งมาสคอตเหล่านี้มักสอดแทรกจุดสังเกตน่ารักๆ ที่เกี่ยวโยงไปถึงเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ เอาไว้ให้เรามองหากันด้วย

งานนี้มีมาสคอตเข้าร่วมมากขึ้นทุก ๆ ปี ในปี ค.ศ. 2014 มีเพิ่มขึ้น ถึง 1,700 ตัวละคร การโหวตตัดสินคะแนนมาจากเสียงมหาชนคนญี่ปุ่นที่เข้าร่วมงานและจากทางอินเตอร์เน็ต มีการ์ตูนสัญลักษณ์ที่เคยประกวดกลายเป็นตัวละครยอดนิยมระดับสากลสร้างมูลค่าให้จังหวัดนั้น ๆ มาแล้วมากมาย

yuru
มารู้จักกับผู้ชนะการประกวด 10 อันดับ จาก Yuru Kyara Grand Prix ปี 2014 กัน

อันดับ 1 กุนมะจัง (Gunma -chan) จากจังหวัดกุนมะ (Guma) ภูมิภาคคันโต (Kanto)

gunmaกุนมะจัง (Gunma-chan) เป็นลูกม้า เกิดในปีค.ศ. 1994 แต่เดิมกุนมะจังเป็นมาสคอตให้กับงานแข่งกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 3 สำหรับผู้พิการทางสมอง ตั้งแต่นั้นกุนมะจังก็ได้ทำหน้าที่ต่อในตำแหน่งมาสคอตประจำจังหวัด เห็นแบบนี้กุนมะจังมีความสมารถพิเศษในการแปลงกายหลายรูปลักษณ์ เรียกได้ว่าถ้าเพื่องานประชาสัมพันธ์จังหวัด กุนมะจังสู้ไม่ถอย โดยงานแข่งนี้ กุนมะจังแอบติดอันดับต้น ๆ มาหลายปี และในปีค.ศ. 2014 ที่ผ่านมา ในที่สุดก็ได้อันดับ 1 มาครอบครองสมใจ

[info-w””] www.gunmachan-navi.pref.gunma.jp/en/room/gunma_shoukai.php

 

อันดับ 2 ฟุกกะจัง (Fukka-chan) จากเมืองฟุกะยะ (Fukaya)  จังหวัดไซตามะ (Saitama) ภูมิภาคคันโต (Kanto)

fukka

ฟุกกะจัง (Fukka -chan) เป็นตัวละครที่มีส่วนผสมของกวางและกระต่าย โดยมีจุดเด่นตรงหูที่สื่อถึงต้นหอมฟุกะยะ ตรงกระดุมก็ยังเป็นทิวลิปซึ่งเป็นดอกไม้ประจำเมือง เห็นแบบนี้ฟุกกะจังชื่นชอบโซเชียลมีเดียนะ มีงานอดิเรกในการทวีต Twitter และเล่น Facebook  มีอีโมติคอนประจำตัวคือ Y(o0ω0o)Y ฟุกกะจังติดอันดับต้น ๆ ในงานแข่ง Yuru Kyara Grand Prix มาหลายปี สำหรับปีค.ศ. 2014 ให้กุนมะจังได้ที่ 1 ไปก่อนนะ

[info-w””] www.fukkachan.com

 

อันดับ 3 มิเคียน (Mikyan / Mican) จากจังหวัดเอฮิเมะ (Ehime) ภูมิภาคชิโกกุ (Shikoku)

mikyan_maekake

มิเคียน (Mikyan  / Mican) เป็นหมาน้อย ออกแบบมาจากส้มที่เป็นของขึ้นชื่อในจังหวัดเอฮิเมะ นิสัยสดใสร่าเริง มีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเหมาะเจาะกับสีส้มสดใสของเจ้าตัวเสียนี่กระไร ยังไม่หมดแค่นั้นนะ จุดน่ารักยังมีจมูกรูปทรงหัวใจและถ้าสังเกตดี ๆ หางของมิเคียนก็เป็นดอกส้มด้วยนะ

[info-w””] www.pref.ehime.jp/h12200/mican-kanzume

 

อันดับ 4 ชินโจคุง (Sinjokun) จากเมืองซูซากิ (Susaki) จังหวัดโคจิ (Kochi)  ภูมิภาคชิโกกุ (Shikoku)

shinjo

ชินโจคุง (Sinjokun) เป็นหนุ่มนากแม่น้ำ ถึงนากแม่น้ำจะถูกระบุว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ชินโจคุงก็จะเดินทางตามหาเพื่อนๆ พร้อมกับประชาสัมพันธ์เมืองของเขา ชินโจคุงสวมหมวกหม้อไฟราเมนซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อเมืองซูซากิ ยังมีจุดสังเกตน่ารักๆ คือสะดือจุ่นกลมๆ อีกด้วย

[info-w””] www.city.susaki.kochi.jp/sinjokun

 

อันดับ 5 โอจิซามะ (O Uji Chama) จากเมืองอุจิ (Uji) จังหวัดเกียวโต (Kyoto) ภูมิภาคคันไซ (Kansai)oujichama

โอจิซามะ (O Uji Chama) มาจากการผสมคำแสนเก๋ของเมือง “อุจิ” กับคำว่า “เจ้าชาย” เป็นเจ้าชายน้อยแห่งอาณาจักรชา เพื่อประชาสัมพันธ์มนต์เสน่ห์ของชาเขียวมัทฉะ สินค้าขึ้นชื่อเมืองอุจิ แถมยังออกแบบมงกุฎเป็นที่คนชาไม้ไผ่ เรียกได้ว่าเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์เจ้าชายชาเขียวอย่างแท้จริง

[info-w””] www.ujimiyage.com/user_data/yuruchara02.php

 

อันดับ 6 โยอิจิคุง (Yoichi-kun) จากเมืองโอทาวาระ (Otawara) จังหวัดโทชิงิ (Tochigi) ภูมิภาคคันโต (Kanto)

yoichi

โยอิจิคุง (Yoichi-kun) มีที่มาจากซามูไรผู้เชี่ยวชาญการรบในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ชื่อเต็มว่า Yoichi Munetaka Nasu ซึ่งมีตัวตนอยู่จริง

[info-w””] http://o-yoichi.jugem.jp

 

อันดับ 7 ชิมาเนกโกะ (Shimanekko) จากจังหวัดชิมาเนะ (Shimane) ภูมิภาคจูโงะกุ (Chugoku)

shimanekko01

ชื่อจังหวัดชิมาเนะ ผสานกับคำว่าเนโกะ (แมว) เข้าไป จึงเป็นมาสคอตแมวเหมียวนามว่า ชิมาเนกโกะ บนหัวสวมหมวกที่สื่อถึงหลังคาศาลเจ้าอิซุโมะไทฉะ ศาลเจ้าดังในจังหวัดชิมาเนะ

[info-w””] www.kankou-shimane.com/ja/shimanekko

 

อันดับ 8 โทชิสุเกะ (Tochisuke) จากจังหวัดโทชิงิ (Tochigi) ภูมิภาคคันโต (Kanto)

tochisuke26

โทชิสุเกะ (Tochisuke) เป็นภูตโกดัง (อ่านไม่ผิดค่ะ ภูตโกดัง) สื่อถึงโกดังสินค้าเก่าแก่ในจังหวัดโทชิงิ อาหารที่ชื่นชอบก็ต้องเป็นผลไม้องุ่นและสตรอว์เบอร์รีของจังหวัดอย่างแน่นอน และหลงใหลในอาหารเส้นเป็นที่สุด ไม่ว่าจะมันผัดเส้นยากิโซบะ ราเมน โซบะ โทชิสุเกะมีท่าโพสประจำกาย คือโพสเป็นรูปตัวที ที่มาจากตัวอักษรทีของโทชิกินั่นเอง

[info-w””] www.city.tochigi.lg.jp

 

อันดับ 9 อายูโกโระจัง (Ayukoro-chan) เมืองอะสึงิ (Atsugi) จังหวัดคานางาวะ (Kanagawa) ภูมิภาคคันโต (Kanto)

c1001

อายูโกโระจัง (Ayukoro-chan) มาสคอตที่เกิดจากการผสมผสานของขึ้นชื่อในเมืองไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ปลาอายู บ่อน้ำพุร้อนและดอกไม้ไฟ  อายูโกโระจังเป็นเด็กผู้ชายที่มีนิสัยคึกคักซุกซน อีกทั้งมีจมูกและหูที่ดีมาก สามารถตรวจจับของอร่อยได้อย่างง่ายดาย

[info-w””] www.city.atsugi.kanagawa.jp/kankou/citysales/character/d016245.html

 

อันดับ 10 ชิปเปย์ (Shippei) จากเมืองอิวาเตะ (Iwate) จังหวัดชิซูโอะกะ (Shizuoka) ภูมิภาคจูบุ (Chubu)

ttl_shippei

ชิปเปย์ (Shippei) เป็นมาสคอตที่ออกแบบมาจากตำนานสุนัขของเมืองอิวาเตะ (Iwate) จึงออกมาเป็นสุนัขรูปร่างอวบน่ารัก สวมเชือกสีขาวแดงและนุ่งผ้าเตี่ยว ชิปเปย์มีนิสัยชอบกิน โดยเฉพาะเมลอน! งานอดิเรกชอบตะลุยไปในเมืองและดูกีฬา

[info-w””] http://shippei.jp

 

ผู้ชนะในปีก่อน ๆ

Yuru Kyara Grand Prix 2013
ซาโนะมารุ (Sanomaru) จากเมืองซาโนะ (Sano) จังหวัดโทชิงิ (Tochigi)  ภูมิภาคคันโต (Kanto)

sanomaru

ซาโนะมารุ (Sanomaru) ในคอนเซปซามูไรประจำปราสาท หมวกครอบหัวเป็นชามที่ทำให้นึกถึงราเมนซาโนะ ดาบพกประจำกายยังเป็นมันฝรั่งทอดเสียบไม้ราดซอสพิเศษ เมนูอาหารเฉพาะของเมืองอีกด้วย

[info-w””] http://sanomaru225.com

 

Yuru Kyara Grand Prix 2012
บารี่ซัง (Barysan) จากเมืองอิมะบาริ (Imabari) จังหวัดเอฮิเมะ (Ehime) ภูมิภาคชิโกกุ (Shikoku)
BARYSAN

บารี่ซัง (Barysan) เป็นนกที่เกิดในเมืองอิมาบาริ มงกุฎบนหัวมาจากสะพานคุรุชิมะ ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดฮิโรชิมาบนเกาะฮอนชู (เกาะที่กินพื้นที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น) มาสู่จังหวัดเอฮิเมะในภูมิภาคชิโกกุ บารี่ซังใส่ผ้าคาดพุงและเหน็บกระเป๋าสตางค์รูปเรือ ซึ่งสื่อถึงผลิตภัณฑ์และการขนส่งขึ้นชื่อของเมืองอีกด้วย

[info-w””] www.barysan.net

 

Yuru Kyara Grand Prix 2011
คุมะมง (Kumamon) จากจังหวัดคุมาโมโตะ (Kumamoto) ภูมิภาคคิวชู (Kyushu)
kumamon

หมีมาสคอตแก้มแดงที่ดังสุด ๆ ฉุดไม่อยู่ ชื่อคุมะมง (Kumamon) ได้มาจากคำว่าคุมะ (หมี) ของคุมาโมโตะซึ่งเป็นชื่อจังหวัดนั่นเอง เป็นมาสคอตที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้คนสนใจไปท่องเที่ยวตามรอยเจ้าหมีที่จังหวัดคุมาโมโตะกันมากขึ้น ทั้งยังออกสินค้าลายคุมะมงออกมาขายอย่างมากมาย ดังกระฉ่อนมาถึงบ้านเรา!

[info-w””] kumamon-official.jp

สำหรับผู้ที่อยากรู้ผลของปี 2015 ต้องรออีกนิด กำหนดการจัดประกวดจะมีขึ้นช่วงปลายปีในเดือนพฤศจิกายน สามารถติดตามข่าวสารการประกวดอย่างใกล้ชิดได้ที่เว็บไซต์ www.yurugp.jp (ภาษาญี่ปุ่น) ของ Yuru Kyara Grand Prix ค่ะ

เรียบเรียง: gimini | ที่มา: www.yurugp.jp

เราเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่นเกือบทุกภูมิภาคในหลากหลายฤดู และประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น รวมทั้งประเทศในโซนยุโรป เพื่อถ่ายภาพรวบรวมข้อมูล ออกมาเป็นผลงานในรูปแบบหนังสือ และสื่อสาระด้านท่องเที่ยว & ไลฟ์สไตล์ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ และภาคภูมิใจของพวกเรา DPlus Guide Team