แบตเตอรี่สำรองหรือพาวเวอร์แบงก์ (Power bank) เป็นอุปกรณ์จำเป็นชิ้นหนึ่งที่ใครๆ ก็มักพกติดตัวเวลาเดินทาง โดยเฉพาะถ้าไปต่างประเทศหรือนั่งเครื่องบินนานๆ แต่ทั้งนี้ก็มีข้อจำกัดในการพกพาไปด้วยพอสมควร

ข้อกำหนดของการบินไทยเรื่อง power bank
ข้อกำหนดของการบินไทยเรื่องการนำ Power Bank ขึ้นเครื่อง

คือเรื่องการพกพาติดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีขึ้นเครื่องบิน ซึ่งทุกสายการบินบังคับไว้ตรงกันคือ ต้องพกพาติดตัวเท่านั้น (Carry-on Baggage) ห้ามโหลดในกระเป๋าใต้ท้องเครื่อง (Checked Baggage) ทั้งนี้เพราะอาจเกิดความร้อนขึ้นที่ตัวแบตเตอรี่จนเกิดไฟใหม้ลุกลามขึ้น ซึ่งหากอยู่ใต้ท้องเครื่องจะรู้ได้ช้าและไม่สามารถเข้าไปดับไฟได้ แต่ถ้าอยู่ในห้องโดยสาร ลูกเรือและผู้โดยสารจะสังเกตเห็นและช่วยกันดับไฟได้ทันก่อนจะลุกลาม

ข้อกำหนดเรื่องแบตสำรองของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
ข้อกำหนดเรื่องแบตสำรองของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดขนาดความจุพลังงานสูงสุดของพาวเวอร์แบงก์ไว้อีกว่าพกได้ไม่เกินคนละเท่าไหร่ ซึ่งแต่ละสนามบินหรือสายการบินอาจกำหนดแตกต่างกันไป แต่จะใกล้เคียงกัน เช่น

  • ขนาดไม่เกิน 20,000 mAh (ไม่เกิน 100 Wh) การบินไทยให้นำไปได้ไม่เกินคนละ 20 ก้อน ส่วนสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้จำกัดจำนวนไว้
  • ขนาด 20,000 – 32,000 mAh (100- 160 Wh) ทั้งการบินไทยและสนามบินสุวรรณภูมิให้นำไปได้ไม่เกินคนละ 2 ก้อน
  • ขนาดเกิน 32,000 mAh (เกิน 160 Wh) ห้ามนำขึ้นเครื่องทุกกรณี

บางท่านอาจะงงกับการระบุขนาดที่มีทั้ง mAh บ้าง Wh บ้าง ก็ขออธิบายดังนี้ครับ

  • หน่วย mAh (milliAmperec hour) วัดปริมาณพลังงานเป็นกระแสไฟฟ้าที่จ่ายได้ต่อชั่วโมง ถ้าจ่ายได้มากก็แสดงว่ามีพลังงานเก็บไว้ได้มาก เช่น 2,000 mAh คือสามารถจ่ายไฟ 2,000 milliampere ต่อเนื่องได้นาน 1 ชั่วโมง)
  • หน่วย Wh (Watt hour) คือคำนวณจากว่า Power Bank ทั่วไปจะจ่ายไฟที่แรงดัน 5 โวลต์ (V = Volt) คำนวณเป็นค่า “กำลังไฟฟ้า” ที่จ่ายได้ต่อชั่วโมงโดยเอา 5 Volt x milliAmpere hour /1000) = Watt hour
    ดังนั้น 10,000 mAh จึงเท่ากับ 5 x 10000/1000 = 50 Watt hour หรือ 50 Wh
ฉลากเลอะเลือนแทบอ่านไม่ออกแบบนี้แหละครับ เกือบจะโดนเจ้าหน้าที่เอาไปโยนทิ้งสะแล้ว :-(
ฉลากเลอะเลือนแทบอ่านไม่ออกแบบนี้แหละครับ เกือบจะโดนเจ้าหน้าที่เอาไปโยนทิ้งเสียแล้ว :-(

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าแบตสำรองหรือ Power Bank ก้อนนั้นๆ มีความจุเท่าไหร่? อันนี้ก็ต้องดูที่ฉลากบนตัวก้อนเป็นหลัก ซึ่งสำหรับสนามบินที่เข้มงวดบางแห่ง หากฉลากไม่ระบุให้ชัดหรือลบเลือนอ่านไม่ออก ก็ต้องเอาชื่อรุ่นของ Power Bank ยี่ห้อนั้นๆ ไปค้นในอินเทอร์เน็ต เพื่อยืนยันว่ามีความจุเท่าไหร่ ถ้าค้นไม่ได้เจ้าหน้าที่ก็จะยึดไว้เลย (ผมเกือบโดนมาแล้วที่สนามบินเซี่ยงไฮ้ เพราะเจ้าก้อนในรูปนี่แหละ!)

เรื่อง : วศิน เพิ่มทรัพย์ DPlus Guide Team